คำพิพากษา (นวนิยาย)
คำพิพากษา นวนิยาย ของ ชาติ กอบจิตติ ที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ รางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2525 จัดพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2525 โดย สำนักพิมพ์ต้นหมาก มีความหนา 320 หน้า
นอกจากนี้นวนิยายเรื่อง คำพิพากษาที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ รางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2525แล้ว ยังได้รับรางวัลเมขลาจากดารานำฝ่ายหญิงและดาราประกอบชายดีเด่นในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 1 (ครั้งแรก) ในบทละครโทรทัศน์ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งประพันธ์โดย ชาติ กอบจิตติ
เนื้อเรื่อง
[แก้]คำพิพากษา เป็นนวนิยายประพันธ์โดย ชาติ กอบจิตติ เป็นเรื่องราวชีวิตของภารโรงนามว่า ฟัก ณ โรงเรียนเล็กๆแห่งหนึ่งในตำบล ฟักเป็นคนดี มีเมตตา แต่เขานี้เองได้ตกเป็นเหยื่อของ "คำพิพากษา" จากสังคม ที่ได้ทำร้ายเขาเสียจนเสมือนว่าเขานั้นได้ตายทั้งเป็น ความดีที่สะสมมานั้นได้กลายเป็นสิ่งไร้ค่า และทำให้เขานั้นถูกเหยียบย่ำโดยคำกล่าวหาว่าร้ายต่าง ๆ นานาของชาวบ้าน แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของค่านิยมสังคม ที่มีผลกระทบอันรุนแรงต่อปัจเจกบุคลที่ไม่ได้มีหน้ามีตาในสังคม เนื้อเรื่องได้นำเสนอเนื้อหาที่มีความรุนแรง แต่กระนั้นก็แฝงไปด้วยความรู้และข้อคิดที่น่าสนใจว่า จริงหรือ ที่ศีลธรรมนำพาซึ่งความสงบสุขมาสู่เรา เนื่องจากชีวิตของภารโรงผู้นี้ได้ถูกทำร้ายโดยสาเหตุจากการกระทำความดีของเขา นวนิยายเรื่องคำพิพากษา จึงเป็นการเสนอเรื่องราวแนวคิดของคนมีฐานะเป็นปัจเจกชน ที่มักตกเป็นเหยื่อของความเชื่อ และคำตัดสิน ของสังคมไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม ส่งผลให้บุคคลนั้นต้องอ้างว้างโดดเดี่ยวทุกข์ทรมาน ทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้เขียนได้สร้างเรื่องราวโดยใช้สังคมชนบทไทยเป็นฉากมีตัวละครชื่อ ฟัก เป็นตัวเอกของ การดำเนินชีวิต ปัญหารุมเร้าฟักมากมายจนดิ้นไม่หลุด เขาพยายามต่อสู้เมื่อไม่มีทางออกจึงหนีจากโลกของความ เป็นจริง สร้างโลกใหม่ที่เขาหลงคิดว่าเป็นหนทางออกไปสู่อิสรภาพ ท้ายที่สุดเขาได้รับอิสรภาพที่แท้จริงนั่นคือ "ความตาย"
ภาพยนตร์
[แก้]คำพิพากษา ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่
- ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2532 กำกับโดย เพิ่มพล เชยอรุณ นำแสดงโดย อรุณ ภาวิไล, อภิรดี ภวภูตานนท์, สมจินต์ ธรรมทัต, สมพล กงสุวรรณ
- ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2547 กำกับโดย พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ นำแสดงโดย บงกช คงมาลัย, ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์, ศักดิ์สิทธิ์ มณีภาค ชื่อเรื่อง "ไอ้ฟัก"
ละครโทรทัศน์
[แก้]คำพิพากษา ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2527 กำกับการแสดงโดย ครูสดใส พันธุมโกมล เขียนบทโทรทัศน์โดย ชาติ กอบจิตติ สร้างโดย ศูนย์ศิลปะการแสดงของช่อง 3 นำแสดงโดย กษมา นิสสัยพันธ์, กุณกนิช คุ้มครอง, ส. อาสนจินดา, มีศักดิ์ นาครัตน์, สมควร กระจ่างศาสตร์ ซึ่งละครเรื่องนี้ได้รับรางวัลเมขลา ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2528 ทั้งหมด 4 สาขา ได้แก่
- ละครชีวิตดีเด่น
- นักแสดงนำหญิงดีเด่น (กุณกนิช คุ้มครอง)
- นักแสดงประกอบชายดีเด่น (มีศักดิ์ นาครัตน์)
- ผู้กำกับการแสดงดีเด่น (สดใส พันธุมโกมล)
ละครเวที (ละครเพลง)
[แก้]ละครเพลง คำพิพากษา ครั้งแรกแห่งปรากฏการณ์บนเวทีละครเพลง ที่มุมมองและการนำเสนอแตกต่างจากทุกครั้งที่ผู้ชมเคยสัมผัส โดยรักษาแก่นแท้แห่งโศกนาฏกรรมของสามัญชนไว้อย่างไม่บิดเบือน เพื่อสร้างโลกเสมือนที่เราล้วน “พิพากษา” และ “ถูกพิพากษา” อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ละครเพลงเรื่องนี้เป็นผลงานการสร้างสรรค์ดนตรีของคีตกวีร่วมสมัยระดับแนวหน้าของไทย บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ, จิระเดช เสตะพันธุและประดิษฐ์ แสงไกร เขียนบทและกำกับการแสดงโดย พรรณศักดิ์ สุขี นำแสดงโดย ยศภูมิ ดำรงค์เดชากูล เป็น ฟัก, ศศิธร โพธา เป็น สมทรง ร่วมด้วยนักแสดงคุณภาพของ BU Theatre Company
ละครเพลง คำพิพากษา นำไปจัดแสดงเป็นผลงานนวัตกรรมด้านศิลปะการแสดงสมัยใหม่ตัวแทนของประเทศไทย ในงาน World Symposium on Global Encounters in Southeast Asian Performing Arts ที่จัดขึ้นในประเทศไทย วันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ Black Box Theatre มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
นักแสดงหลัก
[แก้]ปี | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2556 |
---|---|---|---|---|
รูปแบบ | ละครโทรทัศน์ ช่อง 3 | ภาพยนตร์ 70 มม. | ภาพยนตร์ 35 มม. ชื่อเรื่อง "ไอ้ฟัก" |
ละครเวที (ละครเพลง) |
กำกับการแสดง | ครูสดใส พันธุมโกมล | เพิ่มพล เชยอรุณ | พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ | พรรณศักดิ์ สุขี |
บทการแสดง | ชาติ กอบจิตติ | เพิ่มพล เชยอรุณ | สมเกียรติ วิทุรานิช | พรรณศักดิ์ สุขี |
ฟัก | กษมา นิสสัยพันธ์ | อรุณ ภาวิไล | ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ | ยศภูมิ ดำรงค์เดชากูล |
สมทรง | กุณกนิช คุ้มครอง | อภิรดี ภวภูตานนท์ | บงกช คงมาลัย | ศศิธร โพธา / ชลเลขา ละงู |
ครูใหญ่ | มีศักดิ์ นาครัตน์ | สมจินต์ ธรรมทัต | ครูศักดิ์สิทธิ์ มณีภาค | กิตติคุณ ชาติทองคำ |
สัปเหร่อไข่ | ส. อาสนจินดา | สมพล กงสุวรรณ | พรศิล จันทนากร | อิชณร์กร อุดทุม |
อ้างอิง
[แก้]